reviewgamefps.com

ศูนย์รวมเกมส์มันๆ อัพเดทเกมส์ใหม่ทุกวัน มีให้เลือกหลากหลายที่เว็บเรา

‘อ.เศรษฐศาสตร์’ พาย้อน ศก.หมื่นปี คอนเฟิร์ม ‘สังคมเปลี่ยนโฉม’

เศรษฐศาสตร์วันนี้

‘อ.เศรษฐศาสตร์’ พาย้อนเศรษฐกิจหมื่นปี คอนเฟิร์ม ‘สังคมเปลี่ยนโฉม’ ทุนนิยมเกิด หลังปฏิวัติอุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่บูธมติชน i48 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 โดยสมาคมผู้จัดพิมพ์ฯ ในแนวคิด “Booktopia มหานครนักอ่าน” ซึ่งจัดมาแล้วเป็นวันที่ 9 โดยจัดตั้งแต่วันที่ 12-23 ตุลาคมนี้ เวลา 10.00 – 21.00 น.

เศรษฐศาสตร์วันนี้

บรรยากาศ เวลา 16.00 น. ที่เวทีกลาง สำนักพิมพ์มติชนจัดเวทีพูดคุยในหัวข้อ ‘ปรับ’ เมื่อโลก ‘เปลี่ยน’ บทเรียนจากเศรษฐกิจโลกหมื่นปี โดย อ.ธนสักก์ เจนมานะ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

อ.ธนสักก์กล่าวว่า หนังสือ MORE เปิดประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหมื่นปี เขียนโดย Philip Coggan แปลโดย พลอยแสง เอกญาติ ได้เขียนเล่าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจหมื่นปี คำถามที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติคือ จุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อย่างไร คำตอบคือ ระบบเศรษฐกิจไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบไหน ก็อยู่รอบตัวเราเสมอเมื่อมีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้น กล่าวคือ เมื่อไรที่มนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กันไม่ว่าในเชิงสังคม การเมือง การแลกเปลี่ยนทั้งหมดนี้เป็นระบบเศรษฐกิจทั้งหมด คือระบบที่สังคมสร้างขึ้นมาเพื่อจัดสรรทรัพยากรเพื่อการผลิต กระจายสินค้าและบริการต่างๆ เช่นในอดีต ตั้งแต่สมัยหมื่นปีที่แล้วระบบเศรษฐกิจของมนุษยชาติคือระบบ hunters-gatherers ซึ่งเป็นระบบที่มนุษย์ไม่ได้อยู่เป็นหลักแหล่ง เก็บพืชผักผลไม้ตามป่าไปเรื่อยๆ และมีการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชนเผ่า จนเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจมาเป็นแบบเกษตรกรรม เริ่มมีการทำไร่ทำสวนและทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ได้

“เราจะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจ เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงเสมอ และขึ้นอยู่กับว่าสังคมยุคนั้นมีภาพลักษณ์อย่างไร ระบบการผลิตเป็นอย่างไร มีการกระจายสินค้าและบริการอย่างไร เราจะเห็นว่าระบบเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคมและการเมือง โดยระบบเศรษฐกิจก็สะท้อนสังคมมนุษย์ ว่าในแต่ละยุคมีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจที่โตขึ้นในยุคก่อนจำเป็นที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ซับซ้อนขึ้น การแลกเปลี่ยนจำเป็นที่จะต้องมีภาษา พัฒนาการทางด้านการเขียนและการตีพิมพ์ ทั้งหมดนี้ ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไปเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การปฏิวัติทางอุตสาหกรรม การพัฒนาของรัฐบาล การพัฒนาของระบบกฎหมาย ระบบการศึกษาที่เท่าเทียมมากขี้น เป็นความจำเป็นอย่างมากในการที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้” อ.ธนสักก์กล่าว