หากใครเคยเป็นฝี น่าจะรู้ดีว่ามันเจ็บปวดทรมานแค่ไหน โดยเฉพาะเมื่อเป็น “ฝีที่รักแร้”
เพราะแค่จะนั่งหุบแขนแบบปกติบางทีก็ยังยาก แถมยังต้องกังวลอีกว่าฝีจะแตกจนหนองไหล หรือซึมเลอะเสื้อผ้าจนเสียความมั่นใจหรือเปล่า
Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความรู้จักโรคติดเชื้ออย่าง “ฝีที่รักแร้” ให้มากขึ้น คุณจะได้รู้ว่าฝีเกิดจากอะไร และจะสามารถป้องกันได้อย่างไรบ้าง
ฝีที่รักแร้ คืออะไร?
ฝี (Boil หรือ Furuncle) เป็นการติดเชื้อที่รูขุมขนหรือต่อมไขมัน ส่วนใหญ่มักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ก่อตัวในรูขุมขนและไปผสมเข้ากับเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วและหนอง ทำให้ผิวหนังในบริเวณนั้นบวม แดง และมีหนองเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ
แม้ฝีจะไม่ใช่ภาวะสุขภาพที่อันตรายร้ายแรงจนถึงแก่ชีวิต แต่ก็สร้างความรำคาญ และความเจ็บปวดให้เราได้มากเลยทีเดียว โดยเฉพาะเมื่อเป็นฝีที่รักแร้ เพราะเมื่อเป็นแล้ว จะยกแขนก็ยาก ยิ่งหุบแขนตามปกติยิ่งลำบากเข้าไปใหญ่ โดยปกติแล้ว ฝีที่รักแร้จะแห้งไปเองภายใน 2 สัปดาห์ แต่หากฝีที่รักแร้ไม่ยอมหายภายในเวลาดังกล่าว หรือใหญ่ขึ้นเร็วมาก คุณควรไปพบคุณหมอ เพราะอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
อาการของฝีที่รักแร้
มีตุ่ม หรือก้อนนูนสีแดงหรือชมพูที่รักแร้
เจ็บบริเวณตุ่มที่เกิดขึ้น
มีหนองใต้ผิวหนัง
มีไข้ รู้สึกไม่สบาย
คันที่ตุ่ม หรือบริเวณโดยรอบ
หากฝีที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นก้อนหนอง หรือหัวหนองหลายๆ หัวติดกัน จะเรียกว่า “ฝีฝักบัว” (Carbuncle) ซึ่งจะยิ่งสร้างความเจ็บปวด รำคาญ และต้องใช้เวลารักษานานขึ้นไปอีก
สาเหตุของฝีที่รักแร้
ฝีที่รักแร้เกิดจากรูขุมขนติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสาเหตุเหล่านี้
การโกนขน
รักแร้ของเราเป็นแหล่งสะสมเหงื่อและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว เมื่อคุณโกนขนรักแร้บ่อย ๆ ก็อาจทำมีดโกนพลาดบาดผิวหนังใต้วงแขนจนเป็นแผลเปิด ส่งผลให้แบคทีเรียเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย จึงเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียมากขึ้น
เหงื่อออกมากเกินไป
หากคุณต้องเผชิญกับอากาศร้อนอบอ้าว หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกมา แต่กลับไม่ดูแลทำความสะอาดร่างกายให้ดี โดยเฉพาะบริเวณรักแร้ ก็อาจทำให้เสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจากการติดเชื้อโรค เช่น ฝี ได้ง่ายขึ้น
ข่าวอื่นๆ “หน้ากาก N95” ใช้ซ้ำได้หรือไม่? เมื่อไรควรเปลี่ยน?
More Stories
“หน้ากาก N95” ใช้ซ้ำได้หรือไม่? เมื่อไรควรเปลี่ยน?
มอบของขวัญปีแห่งสุขภาพผู้สูงวัยไทย ส่ง อสม.กรองสุขภาพ ให้อุปกรณ์ดูแล